วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คำศัพท์ครั้งที่ 7

คำครั้งศัพท์ครั้งที่ 7

Active X 
พัฒนาโดยบริษัท Microsoft เป็น OLE (Object Linking and Enbedding) ที่จะช่วยให้คุณใช้งานไฟล์รูปแบบ Word Excel Access กับอินเตอร์เน็ตได้ โดยแบ่ง 2 ส่วนคือ ส่วนของซอฟต์แวร์ (ActiveX Control) เป็น OLE ที่มีการทำงานตามข้อกำหนดของ ActiveX และส่วนแอพพลิเคชั่น (ActiveX container) โดยการนำเอา ActiveX control มาประยุกต์ใช้งานนั่นเอง ซึ่งจะเป็นรูปแบบ VBScript หรือ JavaScript ก็ได้

ASP
ASP (Active WebServer Page) เป็นสคริปต์ที่ทำงานอยู่บนเว็บเซิร์ฟเวอร์มีส่วนขยายเป็น .asp ปกติมักจะนำมาใช้กับเว็บ เซิร์ฟเวอร์ที่มีระบบปฏิบัติการ WindowsNT โดยอาศัยการควบคุมด้วยโปรแกรมอินเตอร์เน็ต Information เว็บเซิร์ฟเวอร์ (IIS) ของไมโครซอฟท์ ลักษณะของไฟล์ *.asp จะประกอบด้วยโค้ดที่แทรกไว้ระหว่างโค้ดภาษา HTML การทำงาน ASP นั้นจะใช้การ เรียกใช้จากฝั่งผู้ใช้งานเว็บไซต์ด้วยบราวเซอร์โดยจะมีการประมวลผลที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ก่อนที่จะแสดงผลที่บราวเซอร์ ช่วยลด ความอืดอาดในการใช้งานอินเตอร์เน็ตลงได้มาก

Browser 
บราวเซอร์ (Browser Web Browser) เป็นโปรแกรมสำหรับเปิดดูไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ จะมีส่วนขยาย เป็น *.htm *.html *.asp *.php *.pl ส่วนรูปภาพจะเป็นรูปแบบ *.jpg *.gif *.png เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการติดต่อ ระหว่างผู้ใช้งานอินเตอรืเน็ตกับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนอื่น ๆ หรือระหว่างผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะทำให้ สามารถเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ ทั้งที่เป็นข้อความหรือรูปภาพได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกและยังสามารถใช้บริการต่าง ๆ ได้อีก มากมาย เช่น บริการ E-mail รับส่งข้อมูลผ่านบราวเซอร์ได้ ในปัจจุบันยังสามารถที่จะฟังเพลงหรือชมภาพยนต์ตัวอย่าง ฟังวิทยุ หรือแม้แต่การชมการถ่ายทอดสดผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตโดยอาศัยบราวเซอร์และโปรแกรมเสริม(Plug-in)ต่าง ๆ ได้อีกด้วย มีโปรแกรมบราวเซอร์หลายโปรแกรม เช่น Internet Exporer (IE) , Netscape , Opera

CGI 
CGI (Common Gateway interface) เป็นการติดต่อระหว่างผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ และโดยเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้จัดเตรียมโปรแกรม CGI ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบข้อมูลที่จะส่งไปยังผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในขณะ ที่ยังสามารถรับข้อมูลจากผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ด้วย เช่น การใช้งานห้องสนทนาที่จะรับข้อความมาจากผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต และส่งข้อความของเขาและคนอื่น ๆ มาแสดงที่บราวเซอร์ได้ด้วย

VRML 
VRML (Virtual Reality Modeling Language) ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการสร้างโลก 3 มิติ โดยที่ VRML นั้นก็เป็นไฟล ์เอกสารธรรมดา เช่นเดียวกับไฟล์ HTML แต่จะเก็บข้อมูลที่ใช้สำหรับสร้างออบเจ็กต์ต่าง ๆ ในโลก 3 มิติ การใช้งาน VRML นั้นสามารถใช้ได้หลากหลาย เช่น แสดงโมเลกุลของสารเคมีต่าง ๆ หรือตัวอย่างสิ่งของที่สามารถหมุนดูได้ 360 องศา แต่ว่า VRML นั้นไม่มีการกำหนดการรับข้อมูลเป็น 3 มิติไว้ในมาตรฐาน ข้อมูล VRML นั้นสามารถแสดงผลได้ทั้งอุปกรณ์ 2 มิติ หรือใช้อุปกรณืโลกเสมือนก็ได้ ซึ่ง VRML นั้นอาจจะเทียบได้กับไฟล์ข้อมูลของ 3D Studio นั่นเอง ซึ่งต่างกับการใช้หมวกหรือ แว่น 3 มิติ ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ ข้อมูล VRML นั้นสามารถแสดงบนบราวเซอร์ได้โดยใช้ Plug-in นอกจากนั้น VRML นั้นสามารถทำสคริปต์ด้วย Java Script ให้เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) ได้

XML 
XML (EXtensible Markub Language) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กำหนดรูปแบบของคำสั่งภาษา HTML หรือที่เรียกว่า Meta Data ซึ่งจะใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของคำสั่ง Markup ต่าง ๆ แต่มีข้อแตกต่างกับ HTML ที่เป็น Markup Language โดยที่ XML นั้นได้ถูกพัฒนามาจาก SGML (Standard Generalized Markup Language) ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการกำหนดการแสดง ผลเอกสาร สำหรับการแสดงผลบนอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ซึ่ง HTML นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของ SGML และคำสั่งหรือแท็กที่ใช้ในเอกสาร จะถูกกำหนดมาตรฐาน DTD (Document Type Definition) ซึ่งเป็นภาษาที่สำหรับกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของแท็กได้ เช่น พารามิเตอร์ของแท็ก เป็นต้น การใช้งาน XML นั้น จำเป็นต้องใช้ร่วมกับ Style Sheet หรือมาตรฐานอื่น ๆ เพราะ XML เพียงแต่กำหนดรูปแบบของแท็ก แต่ไม่ได้กำหนดว่าแท็กใจะแสดงผลแบบใด เพราะเมื่อเอาข้อมูลในรูปแบบ XML ไปแสดงผล ในอุปกรณ์ชนิดใด ก็จะต้องใช้วิธีแสดงผลของอุปกรณ์นั้น เช่น ใช้มาตรฐาน SMIL สำหรับข้อมูลมัลติมีเดียว หรือใช้ Style Sheet XSL สำหรับการแสดงผลในบราวเซอร์ นอกจากนี้ XML ยังสนับสนุนตัวอักษรภาษานานาชาติ โดยใช้มาตรฐาน ISO 10646 โดยจุดมุ่งหมายของภาษา XML นั้นก็คือภาษาเรียบง่าย มีคำสั่งน้อยที่สุด และสามารถเขียนได้ด้วยโปรแกรมแก้ไขข้อความ (Text Editor) ได้ และสนับสนุนแอพพลิเคชันหลาย ๆ ชนิด และในปัจจุบันนี้ได้เริ่มมีการพัฒนาภาษา Markup ตามข้อกำหนดของ XML แล้ว เช่น SMIL สำหรับควบคุมข้อมูลมัลติมีเดีย

WAP 
WAP (Wireless Application Protocol) ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสาร และถ่ายโอนข้อมูลในระบบของอุปกรณ์ สื่อสารไร้สายต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ , PDA หรือเครื่อง Palm เพื่อให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถใช้บริการต่าง ๆ ผ่าน อินเตอร์เน็ตได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

Website
เว็บไซต์ นั้นเป็นคำที่ถูกเรียกเป็นตำแหน่งที่อยู่ของผู่ที่มีเว็บเป็นของตัวเองบนอินเตอร์เน็ต หรือก็คือ เว็บเพจทั้งหมด ที่มีอยู่ในพื้นที่เก็บข้อมูลในอินเตอร์เน็ตของเรานั่นเอง ซึ่งจะได้จากการที่เราลงทะเบียนกับผู้ให้เช่าบริการพื้นที่ใน อินเตอร์เน็ตหรือพื้นที่ฟรีต่าง ๆ จากนั้นก็ทำการ Upload ไฟล์ของโฮมเพจของเรา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหน่วยงานรัฐบาล ภาครัฐ และบริษัทต่าง ๆ ก็มักจะมีเว็บไซต์กันเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันนี้ไม่เพียงจะจำกัดอยู่เพียงเท่านี้ ผู้ใช้ที่เป็นคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ก็สามารถที่จะมีที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตได้อย่างสบาย ๆ ซึ่งประโยชน์ของเว็บไซต์ก็มีมากมายไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ บริการรับส่ง E-mail บริการรับส่งข้อมูลผ่านทางโปรโตคอล FTP และอื่น

Asynchronous Transfer Mode หรือ ชื่อย่อ ATM  
 เป็นเครือข่ายสื่อสาร ที่ใช้โพรโทคอลชื่อเดียวกันคือ ATM เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ATM ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้กับงานที่มีลักษณะ ข้อมูลหลายรูปแบบและต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมากๆ มีความเร็วในการส่งข้อมูลได้ตั้งแต่ 2 Mbps ไปจนถึงระดับ Gbps สื่อที่ใช้ในเครือข่ายมีได้ตั้งแต่สายโคแอกเชียล สายไฟเบอร์ออปติค หรือสายไขว้คู่ (Twisted pair) โดย ATM นั้นถูกพัฒนามาจากเครือข่ายแพ็กเก็ตสวิตซ์ (packet switched) ซึ่งจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นหน่วยย่อยๆ เรียกว่าแพ็กเก็ต (packet) ที่มีขนาดเล็กและคงที่แล้วจึงส่งแต่ละแพ็กเก็ตออกไป แล้วนำมาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้งที่ปลายทาง ข้อดีของ ATM คือสามารถใช้กับข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพเคลื่อนไหว, ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือเสียง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเร็วของข้อมูลสูง และยังมีการรับประกันคุณภาพของการส่ง เนื่องจากมี Quality of Service(QoS)จุดเด่นของเครือข่าย ATM

ที่เหนือกว่าเครือข่ายประเภทอื่น คือ อัตราการส่งผ่านข้อมูลสูง และเวลาในการเดินทางของข้อมูลน้อย จึงทำให้มีบางกลุ่มเชื่อว่า ATM จะเป็นเทคโนโลยีหลักของเครือข่าย LAN ในอนาคต เนื่องจากสามารถรองรับ Application ที่ต้องการอัตราส่งผ่านข้อมูลสูง เช่น การประชุมทางไกล(Videoconferencing) หรือแม้กระทั่ง Application แบบตอบโต้กับระหว่าง Client กับ SeverATM เป็นระบบเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์ชนิดพิเศษ เนื่องด้วยกลุ่มข้อมูลที่ส่งแบบแพ็กเก็ตสวิตซ์โดยทั่วไปจะเรียกว่า "แพ็กเก็ต" แต่ ATM จะใช้ "เซลล์" แทน ที่ใช้คำว่าเซลล์เนื่องจาก เซลล์นั้นจะมีขนาดที่เล็กและคงที่ ในขณะที่แพ็กเก็ตมีขนาดไม่คงที่ และใหญ่กว่าเซลล์มาก โดยมาตรฐานแล้วเซลล์จะมีขนาด 53 ไบต์ โดยมีข้อมูล 48 ไบต์ และอีก 5 ไบต์ จะเป็นส่วนหัว (Header)ทำให้สวิตซ์ของ ATM ทำงานได้เร็วกว่าสวิตซ์ของเครือข่ายอื่น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น